กระจกเป็นมากกว่าที่คุณคิด

เลือก Projector ให้ตรงกับการใช้งานของสำนักงานต่างๆ

เลือกโปรเจคเตอร์ให้ตรงการใช้งาน

แล้วทำไมต้องรู้ ต้องศีกษา ก็แค่ Projector ?

อ่าๆๆๆ ทำเป็นเล่นไป หลายๆคนซื้อ Projector ไปแล้วใช้งานไม่ได้นะ อ้าวววว กรรม ⊙ω⊙ ใช้งานไม่ได้คือ แสงสว่างจาก Projector ไม่พอ-สู้แสงในห้องไม่ได้, ภาพที่แสดงผลเล็กไป – คนนั่งไกลหน่อยมองไม่เห็น, ภาพเบลอ โอ๊ยหลายเรื่องแหละ, ซื้อมาแพงเกิ้นน แต่ใช้งานไม่คุ้มค่าประมาณ ซื้อมาแสนห้า ใช้งานแค่ หมื่นเดียว เรียกว่าเสียของ, ซื้อของมาไม่เหมาะกับการใช้งาน

นอกจากซื้อไปแล้วใช้ไม่ได้ หรือ ซื้อมาเกินการใช้งานจริงแล้ว ที่สำคัญมันมีให้เลือกหลายร้อยรุ่นและมีราคาตั้งแต่ระดับพันถึงหลักล้านกันเลยทีเดียว ˋ▽ˊ

แต่บทความนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเลือก Projector กับการใช้งานด้าน ความบันเทิงฉายหนัง ภาพยนตร์ ว่าควรเลือก Projector แบบไหนนะจ๊ะเพราะเนื้อหาที่จะเล่าก็ต่างกันต้องคุยเรื่องหลอดภาพ แสง สี ความคมชัดชั่วโมงการใช้งาน บร่าๆ ไม่เหมือนกันแระ เอ้าๆๆๆ มาดูสิ่งที่ต้องรู้กัน

  1. ขนาดของภาพที่ต้องการในการฉาย (Screen size)
  2. ความละเอียดภาพ (Resolution)
  3. ความสว่างแสง (Brightness)
  4. ทั่วๆไป

1. ขนาดของภาพที่ต้องการในการฉาย (Screen size)

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราต้องการภาพเท่าไร?

ดูจากขนาดห้อง คือ ห้องขนาดเล็ก ห้องขนาดกลาง ห้องขนาดใหญ่

  • ห้องขนาดเล็ก คือ ระยะจอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดไม่เกิน 3 ม. ขนาดภาพที่เหมาะสมประมาณจอ 70 นิ้ว (W.155*H.87 cm. สัดส่วน 16:9)
  • ห้องขนาดกลาง คือ จอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดประมาณ 3 – 5 ม. ขนาดภาพที่เหมาะสมประมาณจอ 75 นิ้ว (W.166*H.93 cm.สัดส่วน 16:9)
  • ห้องขนาดใหญ่ คือ จอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดประมาณ 5 – 8 ม. ขนาดภาพที่เหมาะสมหรืออย่างน้อย ต้องจอ 80 นิ้ว (W.178*H.100 cm.สัดส่วน 16:9)

ระยะห่างจากจอภาพ

        ขนาดจอ หรือ ภาพ ที่ห่างจากคนนั่งไกลที่สุด สามารถใช้เกณฑ์ในการเลือกขนาดภาพได้พอสมควรแต่จะให้เลือกขนาดภาพได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด มีปัจจัยที่ต้องดูเพิ่มคือ เรื่องความกว้างห้อง และการจัดวางโต๊ะเก้าอี้ด้วยเมื่อมีระยะจอหรือภาพที่ต้องการแล้ว ก็มาดูตัวอย่างกันว่า แต่ละยี่ห้อแจ้งรายละเอียดสินค้าในส่วนนี้กันยังไง

เช่น EPSON EB-685W (Ultra Throw) 74.3″ @ 44.3 cm. Throw ratio 0.27-0.37

*Ultra throw คือระบบ การฉายระยะใกล้มาก, Throw ratio 0.27-0.37 คือ อัตราส่วนการฉาย = ระยะฉาย/ความกว้างของจอ
หรือ Throw ratio = distance/width screen

ตัวอย่าง (74.3″ @ 44.3 cm.) จะได้ภาพขนาด 74.3 นิ้ว เมื่อ ระยะฉาย projector กับผนัง ที่ 44.3 cm. อ่ะๆแล้วจอ 74.3 นิ้ว มันคือกว้าง สูงเท่าไรหล่ะ? ง่ายๆเลย

หา ความกว้าง = เส้นทแยงมุม/0.45 เช่น จอ 74.3 นิ้ว / 0.45 = 165 cm.
หา ความสูง = เส้นทแยงมุม/0.8 เช่น จอ 74.3 นิ้ว / 0.8 = 92.8 cm. (สูตรคำนวณนี้สำหรับสัดส่วนภาพที่ 16 : 9)

ดังนั้น (74.3″ @ 44.3 cm.) คือระยะฉาย 44.3 cm. จะได้ภาพหรือจอ 74.3 นิ้ว (กว้าง 165 สูง 92.8 cm.)

อ้าววว!! แล้วถ้าเราต้องการภาพหรือจอที่ใหญ่กว่านี้จะได้ยังไงต่อ??? ก็เพิ่มระยะฉายให้ห่างจากเดิม จาก 44.3 cm. เป็น 54.3 cm.
แล้วก็เข้าสูตรคำนวณเลยหา ความกว้างจอ = ระยะฉาย / อัตราส่วนการฉาย
ก็จะได้ 54.3 cm. / 0.27 = 201 cm. (ความกว้างจอภาพ)

อีกสักตัวอย่าง
Panasonic PT-TW371R 80” @ 75 cm. Throw ratio 0.46 ที่ระยะฉาย 75 cm. จะได้ภาพขนาด 80 นิ้ว (W.177*H.100 cm.)
80/0.45 = 177 และ 80/0.8 = 100 (มาจาก เส้นทแยงมุมหารด้วย 0.45-ความกว้าง และ หาร0.8-ความสูง)
ถ้าขยับระยะฉายจาก 75 cm. เป็น 85 cm.
เข้าสูตรเลย distance / throw ratio = width screen —– 85/0.46 = 184 cm.
สรุปรุ่นนี้ฉายได้ภาพกว้างถึง 184 cm. ที่ระยะฉาย 85 cm.

ขายของนิดนึง

glass whiteboard ไวท์บอร์ดกระจก

ปัจจุบันมี Glass Whiteboard กระดานไวท์บอร์ดกระจกที่สามารถเขียน วาด ร่วมกับการฉาย Projector ได้ในกระดานเดียวกันเลย แต่มีผู้ใช้หลายรายเมื่อซื้อไวท์บอร์ดกระจก ก็จะสอบถามมาว่าจะเลือก Projector รุ่นไหน เลือกยังไง ต้องรู้อะไรบ้าง เพื่อที่จะมาใช้กับ Glass Whiteboard

เครื่องฉายภาพ หรือ Projector ที่ใช้ได้กับการใช้งานกับกระัดานไวท์บอร์ดกระจก (Glass Whiteboard) มี 2 ระบบ คือ Short Throw และ Ultra Short Throw โดยที่ระยะฉายจะไม่เกิน 80-95 cm. (ขึ้นอยู่กับแสงที่สองเข้ามาในห้อง) ถ้าเกินระยะจะเกิดแสงสะท้อนที่ Glass Whiteboard ได้

ทำไมต้องเป็น 2 ระบบนี้
ทั้ง 2 ระบบนี้ Projector วางหรือติดตั้งอยู่ใกล้กับผนัง คือไม่ต้องฉายไกล ความดีงามมันคือ

  • ลดแสงสะท้อนในพื้นที่ ที่ฉายภาพ – บอกเลยแสงสะท้อนนีแสบตามจนทำให้ดูไม่ได้เลยแหล่ะ
  • ไม่เปลืองพื้นที่ – ไม่เกะกะทำให้ห้องหรือพื้นที่ดูดี
  • ฉายระยะไกล – อาจทำให้เกิดเงาบังที่ภาพถ้ามีคนหรือวัตถุมาบังจอ / แสบตา และร้อน กรณีคน Present อยู่ใกล้จอ
  • ค่าความสว่างของแสงและค่าความละเอียดภาพ ไม่ต้องสูงมาก – เพราะระยะฉายใกล้ (ประหยัดไปได้เยอะเลย)

งั้นสรุป เพื่อให้เลือกกันง่ายๆเลยล่ะกัน

Size Room Throw ratio Distance (cm) Width (cm) Screen (inc)
Large Room 0.2 – 0.37 20 – 60 132 – 300 73 – 135
Medium Room 0.35 – 0.45 60 – 80 171 – 228 77 – 102
Small Room 0.45 – 0.55 70 – 95 127 – 200 57 – 90

ห้องขนาดใหญ่ ค่า Throw ratio ควรเป็น 0.2-0.37 ที่ระยะฉาย 20-60 cm. จะได้ภาพกว้าง 162-300 cm. หรือขนาดภาพ 73-135 นิ้ว

เรื่องราคาล่ะเป็นยังไงกันบ้าง (*ราคา ณ ส.ค. 62)

  • Throw ratio 0.45 – 0.65 (Short throw) ราคาเริ่มต้นประมาณใกล้ๆสองหมื่น อัพไปจะถึงประมาณ สาม สี่หมื่นบาท
  • Throw ratio 0.28 – 0.37 (Ultra short throw) ราคาเริ่มต้นประมาณ สี่หมื่น อัพๆ ที่ throw ratio เท่าๆกัน แต่ resolution , brightness , interactive ไม่เหมือนกันก็จะทำให้ราคาต่างกันจาก สี่หมื่นเป็นหลายแสน ถึงหลักล้าน เลย

*Tips

  • ยิ่งค่า Throw ratio น้อย Projector จะมีราคาสูง แต่ต้องดูประกอบกับ เรื่อง ค่าความสว่างและค่าความละเอียดด้วย
  • หลักการคำนวณต่างๆ ตัวเลขในตาราง แม่นยำ ประมาณ 85% แล้วที่เหลือ 15% คือแต่ละ brand เค้าไม่ได้ใช้หลักการคิด หลักคำนวณแบบเดียวกันเป๊ะๆ แต่ตัวเลขที่ได้ก็ใกล้เคียงแระ เอ้าเป็นว่าใช้ได้แระ

screen and distance

2. ความละเอียดภาพ (Resolution)

ในสำนักงานต่างๆมีการใช้งาน เกี่ยวกับ Word, Excel หรือ Program ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรการแสดงผล ที่ต้องเห็นรายละเอียดต่างๆ หรือเส้นของภาพ เช่น Autocad , 3D หรือ Powerpoint

Resolution ในท้องตลาดที่ใช้กัน

กลุ่มนี้ไม่แนะนำเพราะความละเอียดต่ำเกินการใช้งาน office

  • WVGA: 845×480 = 410,000 Pixel
  • SVGA : 800×600 = 480,000 Pixel
  • WSVGA: 1024×576 = 590,000 Pixel

กลุ่มนี้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการจอหรือภาพที่แสดง 70 – 100 นิ้ว

  • XGA : 1024×768 = 786,000 Pixel
  • WXGA : 1024×768 = 786,000 Pixel
  • 720p (HD): 1280×720 = 921,600 Pixel

กลุ่มนี้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการจอหรือภาพที่แสดง 100 นิ้ว อัพๆ

  • SXGA: 1280×1024 = 1,311,000 Pixel
  • WXGA: 1920×1200 = 2,304,000 Pixel
  • 1080p (Full HD): 1920×1080 = 2,703,600 Pixel

เมื่อมาแบ่งตามการใช้งานจากขนาดจอหรือภาพที่ต้องการ

3. ความสว่าง (Brightness)

projector brightness

สำหรับหน่วยวัดความสว่างจะใช้คำว่า ANSI Lumens (รูเมนส์) เริ่มตั้งแต่ 200 ถึง หมื่นกว่าๆ  สิ่งสำคัญในการเลือก ค่าความสว่างของ Projector คือ ต้องรู้

  1. ความสว่างของแสงที่เข้ามาในห้อง เรื่องนี้สำคัญมากๆ หลายห้องที่ปิดไฟในห้องแล้วมืดเลย คือดีงาม แต่หลายห้องที่มีหน้าต่างนั้นแหละ ต้องดูว่าผ้านม่าน หรือ ตัวที่กั้นแสง เมื่อปิดแล้ว แสงเข้ามาได้มาก น้อย แค่ไหน ยิ่งแสงเข้ามาในห้องได้มากก็ต้องเลือก Projector ที่มีค่า Lumens สูง
  2. พื้นที่ของห้องหรือ ขนาดของภาพที่ต้องการ ยิ่งต้องการภาพที่ใหญ่มาก ก็ต้องมีค่า Lumens ที่สูงตามด้วย

ทั้งสองเรื่องนี้สัมพันธ์กับค่าความสว่างโดยตรงเลย

Size Room Distance (m.) Lumens
Large Room 5 – 8 3,000 +
Medium Room 3 – 5 2,000 – 3,000
Small Room < 3 < 2,000

ตรงนี้แปลว่า

ห้องขนาดเล็ก คือ ระยะจอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดไม่เกิน 3 ม. เลือก Brightness 2,000 Lumens ได้ แต่อย่างที่เกริ่นไป ว่าถ้าห้องนี้มืดหรือแสงเข้ามาน้อยๆ ก็ต่ำกว่า 2,000 Lumens ได้

ห้องขนาดกลาง คือ จอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดประมาณ 3 – 5 ม. เลือก Brightness 2,000 – 3,000 Lumens ได้ โดยดูว่าห้องนี้มืดก็ 2,000 Lumens ถ้ามีแสงเข้ามาบ้างก็ 2,000 Lumens หน่อยๆ หรือถ้าแสงเข้ามาพอสมควร ก็ต้อง 3,000 Lumens แต่ถ้าแสงเข้ามาในห้องเยอะ มี 2 ทางเลือก

  1. ให้แสงเข้ามาให้น้อยลง ค่าใช้จ่าย ตั้งแต่หลักร้อยจนหลักหมื่น ตามความสวยงามของวัสดุ วิธีติดตั้ง
  2. เพิ่มค่า Lumens ให้เหมาะกับความสว่างที่ต้องการ

ห้องขนาดใหญ่ คือ จอหรือภาพที่ห่างจากคนนั่งไกลสุดประมาณ 5 – 8 ม. เลือก Brightness อย่างน้อย 3,000 Lumens

3,500 – 5,000 ANSI Lumen เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับห้องสำหรับคนในห้อง ประมาณ 100 – 250 คน ดังนั้นถ้าเราไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้งานขนาดนี้ก็ไม่ต้องเลือกระดับความสว่างขนาดนี้ก็ได้

*Tips

  • ถ้าแสงจากโปรเจคเตอร์จ้าเกินไปก็สามารถที่ปรับลดความสว่างของหลอดภาพ จะช่วยยืดอายุหลอดภาพได้เยอะเลย
  • การเลือกค่าความสว่างให้เลือกเผื่อเกินความต้องการไว้ เพราะ เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ ความสว่างก็จะค่อยๆลดลง

4. ทั่วๆไป

projector

อายุหลอดไฟ (Lamp life) บ่อยครั้ง spec เครื่องเหมือนๆกัน ทำไมราคาต่างกันเยอะ ก็ตรง lamp life ก็มีผลเรื่องราคาโดยตรงก็ใช้งานได้นานไม่นานก็อยู่ที่เรื่องนีแหละ ที่ระบุไว้แต่ละยี่ห้อมีตั้งแต่ สองพัน ถึงหลายหมื่น ชม.กันเลย

ราคาหลอดภาพ เริ่มตั้งแต่พันต้นๆ จนไปถึง หลายหมื่น บอกเลยบางยี่ห้อนีเปลี่ยนหลอดภาพทีนึ่ง ไปซื้อเครื่องใหม่ยี่ห้ออื่นได้เลยนะ

การรับประกัน เช่น หลอดภาพ 1 ปี หรือ 10,000 ชม. หรือ ตัวเครื่อง 3 ปี / onsite service 1 ปี

ทั้ง 3 เรื่องคือสามารถอ่าน ดู แต่ละยี่ห้อมาเปรียบเทียบกันได้เลย

ท้ายที่สุดฝากไว้ 2 เรื่อง

ซื้อให้ตรงกับการใช้งาน ตามรายละเอียดทั้งหมดของบทความ

ถ้าร้านค้าไหนที่สามารถยก Projector มาทดสอบก่อนซื้อได้คือดีที่สุดเพราะ ได้ใช้งานตามหน้างาน การใช้งานจริง (จะเป็นร้านที่มีให้เช่าและขาย Projector )

ขอให้เลือก Projector มาใช้งานได้ตรงกับความต้องการกันทุกๆท่านนะครับ ^-^

สนใจกระดานไวท์บอร์ดกระจก

เราขอแนะนำไวท์บอร์ดกระจกรุ่น ลดแสงสะท้อน (Screen) ที่สามารถเขียน ร่วมกับการฉาย Projector ได้ในกระดานเดียวกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม -> “ปกป้องดวงตาของคุณเพียงแค่เปลี่ยนมาใช้กระจกไวท์บอร์ดลดแสงสะท้อน”

Facebook  http://goo.gl/u1PVE2

Line: https://line.me/ti/p/~@glassisgood

Mobile: 063 373 3292 to 4

แชร์บทความ:
กระจกเป็นมากกว่าที่คุณคิด
Basic Colors: White (GR1)
Basic Colors: White (GR1)
Basic Colors: Black (GY8)
Basic Colors: Black (GY8)
Basic Colors: Warm Gray (GY1)
Basic Colors: Warm Gray (GY1)
Basic Colors: London Fog (GY2)
Basic Colors: London Fog (GY2)
Basic Colors: Cool Gray (GY3)
Basic Colors: Cool Gray (GY3)
Basic Colors: Cool Blue (GY4)
Basic Colors: Cool Blue (GY4)
Basic Colors: Light Gray (GY5)
Basic Colors: Light Gray (GY5)
Basic Colors: Battleship Gray (GY6)
Basic Colors: Battleship Gray (GY6)
Basic Colors
Ultra-Clear Colors
Metallic Colors
Marble Patterns

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพเว็บไซท์นี้ กรุณากดยอมรับหรือศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า